การให้สินเชื่อแก่นักลงทุน
เพื่อซื้อหลักทรัพย์
การให้สินเชื่อแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์
ย่อทั้งหมด
สินเชื่อแก่นักลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์
  1. บัญชีเครดิตบาลานซ์ คือ บัญชีกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ โดยลูกค้าต้องได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืมและมีการวางหลักประกันก่อนการซื้อหลักทรัพย์
  2. กรณีลูกค้าวางเงินสดเป็นหลักประกัน หากมูลค่าหุ้นที่ลูกค้าซื้อต่ำกว่าเงินสดที่เป็นหลักประกันจะยังไม่เกิดภาระหนี้
  3. ลูกค้าซื้อ/ฝากหลักทรัพย์ ได้เฉพาะ หลักทรัพย์ที่ TSFC อนุญาต เท่านั้น
  4. TSFC จะทำการปรับปรุงมูลค่าหลักทรัพย์ในบัญชีทุกวัน (Mark to Market) โดยใช้ราคาปิด (Close Price) ในการคำนวณ
  5. หากมูลค่าเงินลงทุนของลูกค้า (Equity) ต่ำกว่ามูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin Call Amount) ลูกค้าจะต้องนำเงินสด หรือหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันเพิ่ม (Call top-up) ภายใน 5 วันทำการ
  6. หากมูลค่าเงินลงทุนของลูกค้า (Equity) ต่ำกว่ามูลค่าหลักประกันขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin Force Amount) ลูกค้าจะถูกบังคับขาย (Force Sell) ในวันทำการถัดไป
หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อในบัญชีเครดิตบาลานซ์
เนื่องจากหลักทรัพย์แต่ละหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีปัจจัยพื้นฐาน และความเสี่ยงด้านสภาพคล่องต่างกัน ดังนั้น TSFC จะมีการประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อขายในบัญชีเครดิตบาลานซ์ของ TSFC (ปัจจุบันมีประมาณ 200 หลักทรัพย์) รวมถึงกำหนดเกรดของหลักทรัพย์ และอัตรามาร์จิ้น (Initial Margin Call Margin และ Force Margin) ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละ หลักทรัพย์ซึ่ง TSFC จะประกาศ ให้ลูกค้าทราบทาง Website ของ TSFC และจะมีการปรับปรุงประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ฯ อย่างน้อยเดือนละครั้ง
การคำนวณดอกเบี้ย
TSFC จะคำนวณดอกเบี้ยจากเงินสดคงเหลือ/ภาระหนี้คงค้างที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละสิ้นวัน (Daily Accounting Balance) ( ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย) ณ สิ้นเดือน TSFC จะนำยอดรวมของดอกเบี้ยดังกล่าวมาปรับปรุงกับยอดเงินสดคงเหลือ/ภาระหนี้คงค้างในบัญชีเครดิตบาลานซ์ของลูกค้า โดย TSFC จะส่ง Statement แจ้งให้ลูกค้าทราบทุกเดือน
  • กรณีลูกค้ามีเงินสดคงเหลือ ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่ TSFC กำหนด
  • กรณีลูกค้ามีภาระหนี้คงค้าง ลูกค้าจะต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ TSFC กำหนด
ประกาศอัตราดอกเบี้ย
ประเภทบัญชีอัตราดอกเบี้ย (%) ต่อปีมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
ประเภทบัญชี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ทั่วไป
อัตราดอกเบี้ย (%) ต่อปี
6.35
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
18 พฤศจิกายน 2567
ประเภทบัญชี
อัตราดอกเบี้ยสำหรับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเครดิตบาลานซ์
อัตราดอกเบี้ย (%) ต่อปี
0.30
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
11 มกราคม 2564
ประเภทบัญชี
อัตราดอกเบี้ยสูงสุด ในกรณีลูกค้าผิดนัด และ/หรือผิดสัญญา
อัตราดอกเบี้ย (%) ต่อปี
20.00
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
18 พฤศจิกายน 2551
คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับบัญชีเครดิตบาลานซ์
คำศัพท์หน่วยคำอธิบายเพิ่มเติมสูตรคำนวณ
คำศัพท์
Usable Credit Line
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
วงเงินกู้ยืมที่สามารถใช้ได้ (กำหนดโดย TSFC)
สูตรคำนวณ
 
คำศัพท์
Cash Balance
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
เงินสด
สูตรคำนวณ
 
คำศัพท์
LMV (Long Market Value)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาปิด
สูตรคำนวณ
ผลรวมของ (จำนวนหุ้น × ราคาปิด)
คำศัพท์
Margin Balance
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
เงินกู้ยืม
สูตรคำนวณ
 
คำศัพท์
Equity
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
เงินลงทุนของลูกค้า
สูตรคำนวณ
Cash + LMV - Margin Balance
คำศัพท์
MM (Maintenance Margin)
หน่วย
%
คำอธิบายเพิ่มเติม
อัตรามาร์จิ้นบัญชีของลูกค้า
สูตรคำนวณ
(Equity ÷ LMV) × 100
คำศัพท์
IM (Initial Margin)
หน่วย
%
คำอธิบายเพิ่มเติม
อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น
(หลักทรัพย์ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น IM จะยิ่งสูงขึ้น)
สูตรคำนวณ
 
คำศัพท์
CM (Call Margin)
หน่วย
%
คำอธิบายเพิ่มเติม
อัตรามาร์จิ้นที่ต้องวางหลักประกันเพิ่ม
(หลักทรัพย์ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น CM จะยิ่งสูงขึ้น)
สูตรคำนวณ
 
คำศัพท์
FM (Force Margin)
หน่วย
%
คำอธิบายเพิ่มเติม
อัตรามาร์จิ้นที่ถูกบังคับขายหลักประกัน
(หลักทรัพย์ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น FM จะยิ่งสูงขึ้น)
สูตรคำนวณ
 
คำศัพท์
MR (Margin Required)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
มูลค่าหลักประกันตามอัตรามาร์จิ้น
(กรณีหลักทรัพย์มีความเสี่ยงต่างกัน ต้องแยกคำนวณตามกลุ่มความเสี่ยง)
สูตรคำนวณ
ผลรวมของ (LMV × IM)
คำศัพท์
EE (Excess Equity)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
ทรัพย์สินส่วนเกิน
(สามารถซื้อหลักทรัพย์เพิ่ม/ถอนหลักประกันออกไปได้)
สูตรคำนวณ
Equity - MR
คำศัพท์
PP (Purchasing Power)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
อำนาจซื้อ
(หลักทรัพย์ที่ซื้อยิ่งมีความเสี่ยงมาก อำนาจซื้อจะยิ่งน้อยลง)
สูตรคำนวณ
EE ÷ IM
คำศัพท์
MM. Call Amt.
(Maintenance Margin Call Amount)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
มูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้
กรณี MM Force Amount < Equity < MM Call Amount
ลูกค้าต้องนำหลักประกันมาวางเพิ่มภายใน 5 วันทำการ
สูตรคำนวณ
ผลรวมของ (LMV × CM)
คำศัพท์
Call Short Amt.
(Call Short Amount)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
มูลค่าหลักประกันที่ต้องนำมาวางเพิ่ม
- กรณีวางเป็นเงินสด
- กรณีวางเป็นหลักทรัพย์
สูตรคำนวณ
MM Call Amt. - Equity
MM Call Amt. - Equity) ÷ (1 - CM)
คำศัพท์
MM. Force Amt.
(Maintenance Margin Force Amount)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
มูลค่าหลักประกันขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้
กรณี Equity < MM Force Amount
ลูกค้าถูกบังคับขายหลักประกันในวันทำการถัดไป
สูตรคำนวณ
ผลรวมของ (LMV × FM)
คำศัพท์
Force Short Amt.
(Force Short Amount)
หน่วย
บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม
มูลค่าหลักประกันที่ต้องบังคับขาย
กรณีบังคับขายปกติ (Force to Force)
- กรณีวางเป็นเงินสด
- กรณีขายหลักทรัพย์
สูตรคำนวณ
MM Force Amt. - Equity
(MM Force Amt. - Equity) ÷ FM
คำศัพท์
 
หน่วย
 
คำอธิบายเพิ่มเติม
กรณีบังคับขายเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามจดหมาย Call (Force to Call)
- กรณีวางเป็นเงินสด
- กรณีขายหลักทรัพย์
สูตรคำนวณ
MM Call Amt. - Equity
(MM Call Amt. - Equity) ÷ CM