คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
ย่อทั้งหมด
บัญชีเครดิตบาลานซ์ (บัญชี Credit Balance/บัญชี CB) คืออะไร

บัญชีกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ โดยลูกค้าต้องได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืมและมีการวางหลักประกันก่อนการซื้อหลักทรัพย์

บัญชีเครดิตบาลานซ์ มีประโยชน์อย่างไร

ช่วยเพิ่มอำนาจซื้อให้กับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากนักลงทุนไม่จำเป็นต้องขายหุ้นที่มีอยู่เดิม แต่สามารถนำหุ้นเดิมมาวางเป็นหลักประกันและใช้เงินกู้ยืมในการซื้อหุ้นเพิ่มได้

สินทรัพย์ใดบ้างที่สามารถนำมาวางเป็นหลักประกัน

ปัจจุบัน TSFC อนุญาตให้ลูกค้านำหลักประกันมาวางได้ 2 ประเภท คือ เงินสด และ หลักทรัพย์ (หุ้น) ที่กำหนดดูได้จาก หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อ 

การวางหลักประกันเป็นเงินสด กับวางหลักประกันเป็นหลักทรัพย์ มีความแตกต่างกันอย่างไร
  • กรณีลูกค้าวางเงินสด เมื่อลูกค้าซื้อหุ้น TSFC จะนำเงินสดของลูกค้ามาตัดชำระค่าหุ้นก่อน มูลค่าหุ้นส่วนที่เกินจากเงินสดจึงจะชำระด้วยเงินกู้ยืมและลูกค้าจะถูกคิดดอกเบี้ยเงินกู้
  • กรณีลูกค้าวางหลักทรัพย์(หุ้น) เมื่อลูกค้าซื้อหุ้น จะใช้เงินกู้ยืมในการชำระค่าหุ้นทั้งจำนวน

ตัวอย่าง ลูกค้า ก นำเงินสดมาวาง 100,000 บาท ลูกค้า ข นำหุ้นกลุ่ม A มาวางมูลค่า 100,000 บาท ลูกค้าทั้ง 2 ราย ซื้อหุ้นกลุ่ม A มูลค่า 80,000 บาท

รายการลูกค้า กลูกค้า ข
ก่อนซื้อหุ้นหลังซื้อหุ้นก่อนซื้อหุ้นหลังซื้อหุ้น
Cash Balance (เงินสด)100,00020,000--
LMV (Long Market Value = มูลค่าหลักทรัพย์)-80,000100,000180,000
Margin Balance (เงินกู้ยืม)---80,000
Equity (เงินลงทุนของลูกค้า)100,000100,000100,000100,000

หมายเหตุ
ทรัพย์สินรวม (เงินสด + มูลค่าหลักทรัพย์) = เงินกู้ยืม + เงินลงทุนของลูกค้า
Cash Balance + LMV = Margin Balance + Equity
หุ้นที่นำมาวางเป็นหลักประกันสามารถขายได้หรือไม่
สามารถขายได้ เพราะหลักประกันยังคงอยู่กับ TSFC เช่นเดิมเพียงแต่แปรสภาพจากหุ้นเป็นเงินสดเท่านั้น ทั้งนี้เงินค่าขายหุ้นของลูกค้าจะโอนกลับเข้ามายัง TSFC ซึ่ง TSFC จะนำเงินดังกล่าวไปหักเงินกู้ยืมในบัญชีเครดิตบาลานซ์ของลูกค้าก่อนเสมอ หากมีเงินสดคงเหลือก็จะคงค้างในบัญชีเครดิตบาลานซ์เพื่อเป็นหลักประกันในการลงทุนต่อไป

ตัวอย่าง ลูกค้า ข มีหุ้นมูลค่า 180,000 บาท ขายหุ้นออกไป 110,000 บาท
ก่อนขายหุ้น ลูกค้า ข มีหุ้นมูลค่า 180,000 บาท มีเงินกู้ยืม 80,000 บาท และมีเงินลงทุนของลูกค้า 100,000 บาท
หลังขายหุ้น ลูกค้า ข มีหุ้นมูลค่า 70,000 บาท มีเงินสด 30,000 บาท และมีเงินลงทุนของลูกค้า 100,000 บาท

รายการลูกค้า ข
ก่อนซื้อหุ้นหลังซื้อหุ้น
Cash Balance (เงินสด)-30,000
LMV (Long Market Value = มูลค่าหลักทรัพย์)180,00070,000
Margin Balance (เงินกู้ยืม)80,000-
Equity (เงินลงทุนของลูกค้า)100,000100,000
ใครเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหุ้นที่อยู่ในบัญชีเครดิตบาลานซ์ (เช่น การรับปันผล การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ฯลฯ)
หุ้นทั้งหมด (หุ้นที่ลูกค้านำมาวาง + หุ้นที่ลูกค้าซื้อ) ที่อยู่ในบัญชีเครดิตบาลานซ์ จะเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้า (ปิดสมุดทะเบียนในชื่อลูกค้า) เพียงแต่ติดภาระจำนำกับ TSFC ดังนั้นลูกค้ายังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆจากหุ้นเช่นเดิม
ค่าใช้จ่ายในการเปิดบัญชีเครดิตบาลานซ์มีอะไรบ้าง
วันเซ็นสัญญา
  1. ค่าอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ 30 บาท
  2. ค่าอากร 0.05 % ของวงเงินกู้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ค่าอากร 500 บาท)

หลังเปิดบัญชี กรณีซื้อหุ้นจนเกิดเงินกู้ยืม ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ TSFC กำหนดดูได้จาก ประกาศอัตราดอกเบี้ย
คุณสมบัติของผู้เปิดบัญชีเครดิตบาลานซ์ต้องเป็นอย่างไร
บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีความเข้าใจการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
สนใจเปิดบัญชีเครดิตบาลานซ์กับ TSFC ต้องทำอย่างไร
  1. ลูกค้าดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลใน เอกสารเปิดบัญชี
  2. ลูกค้าส่งเอกสารเปิดบัญชีให้ บริษัทหลักทรัพย์ที่เข้าร่วมโครงการเครดิตบาลานซ์ กับ TSFC
  3. TSFC รับเอกสารจากบริษัทหลักทรัพย์และติดต่อลูกค้าเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
  4. TSFC แจ้งผลการอนุมัติวงเงินให้ลูกค้าและบริษัทหลักทรัพย์ทราบ และนัดวันเซ็นสัญญา
  5. ลูกค้าเซ็นสัญญา และชำระค่าอากร
หลังเปิดบัญชีกับ TSFC แล้ว จะซื้อขายหลักทรัพย์และชำระค่าหลักทรัพย์อย่างไร
ลูกค้าโอนหลักประกันมาวางกับ TSFC เพื่อสร้างอำนาจซื้อ (Purchasing Power) โอน-ถอนเงิน/ฝาก-ถอนหลักทรัพย์
  • เงินสด ลูกค้าโอนเงินและส่งใบนำฝากเงินที่เขียนชื่อ-นามสกุลลูกค้าและบริษัทหลักทรัพย์ ให้กับ TSFC ภายใน 17.00 น ของวันนำฝาก
  • หลักทรัพย์ (หุ้น) ลูกค้าส่งคำสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ลูกค้าฝากหลักทรัพย์ไว้โอนหุ้น และส่งเอกสาร “ใบแจ้งการส่งมอบและจำนำ” ให้ TSFC เพื่อรับหุ้น ภายใน 15.30 น ของวันนำฝาก

หลัง TSFC รับหลักประกัน ลูกค้าจะสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้ในวันทำการรุ่งขึ้น (หากบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้ามีการปรับปรุงข้อมูลบัญชีของลูกค้าระหว่างวัน ลูกค้าจะสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้ในวันที่วางหลักประกัน)
ทำไมต้องมีการปรับปรุงมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาปิดทุกวัน (Mark to Market)
เพื่อให้ทราบว่าสถานะบัญชีของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแต่ละวัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนอกจากจะช่วยลูกค้าในการตัดสินใจลงทุนแล้ว ยังใช้ในการควบคุมความเสี่ยงของบัญชีเครดิตบาลานซ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
หากมูลค่าหลักทรัพย์ในบัญชีปรับตัวลดลง จะต้องถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม (Call) หรือบังคับขายหุ้น (Force Sell) ทันทีหรือไม่
กรณีลูกค้าถือหุ้นเพียงกลุ่มเดียว ดูที่ MM (Maintenance Margin) CM (Call Margin) และ FM (Force Margin)
  • หาก MM > CM
    สถานะบัญชีคือ ปกติ (หาก Excess Equity ติดลบจะไม่สามารถซื้อหุ้นเพิ่มได้)
  • หาก FM < MM < CM
    สถานะบัญชีคือ Call (ต้องวางหลักประกันเพิ่มภายใน 5 วันทำการ)
  • หาก MM < FM
    สถานะบัญชีคือ Force (ต้องบังคับขายหลักประกันในวันทำการถัดไป)

กรณีลูกค้าถือหุ้นหลายกลุ่ม ดูที่ Equity (เงินลงทุนของลูกค้า) MM Call Amt.(Maintenance Margin Call Amount) และ MM Force Amt.(Maintenance Margin Force Amount)
  • หาก Equity > MM Call Amt.
    สถานะบัญชีคือ ปกติ (หาก Excess Equity ติดลบจะไม่สามารถซื้อหุ้นเพิ่มได้)
  • หาก MM Force Amt. < Equity < MM Call Amt.
    สถานะบัญชีคือ Call (ต้องวางหลักประกันเพิ่มภายใน 5 วันทำการ)
  • หาก Equity < MM Force Amt.
    สถานะบัญชีคือ Force (ต้องบังคับขายหลักประกันในวันทำการถัดไป)

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับบัญชีเครดิตบาลานซ์
การคำนวณดอกเบี้ยในบัญชีเครดิตบาลานซ์ใช้วิธีการใด
TSFC จะคำนวณดอกเบี้ยจากเงินสดคงเหลือ/เงินกู้ยืมคงค้างที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละสิ้นวัน (Daily Accounting Balance)
ณ สิ้นเดือน TSFC จะนำยอดรวมของดอกเบี้ยดังกล่าวมาปรับปรุงกับยอดเงินสดคงเหลือ/เงินกู้ยืมคงค้างในบัญชีเครดิตบาลานซ์ของลูกค้า
สูตรคำนวณดอกเบี้ย = (ยอดเงินสดคงเหลือ/เงินกู้ยืมคงค้าง) × (อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก/อัตราดอกเบี้ยเงินกู้) × (จำนวนวัน ÷ 365 วัน)